วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรรักษาฝ้า


"ฝ้า" ถือได้ว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เกิดจากการผิดปกติของเม็ดสี ใต้ผิว เลือดลม แสงแดด ความร้อน เครื่องสำอาง การขาดสารอาหาร ความเครียด ฮอร์โมนผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์ การใช้ ยาคุมกำเนิด พบในหญิงมากกว่าชายในวัย 30-40 ปีเป็นต้นไป




ลักษณะของฝ้า


จะเห็นเป็นปื้นสีดำ หรือน้ำตาล ที่เกิดบนผิวหนัง อาจพบ บริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก จมูก เหนือคิ้ว และเหนือริมฝีปาก


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า


-แสงแดด เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดฝ้า ทำให้เป็นฝ้ามากขึ้น หรือทำให้ฝ้าเข้มขึ้น ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.


-ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนจะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ เช่น ในระหว่างการตั้งครรภ์ ในวัยหมดประจำเดือน และการรับประทานยาคุมกำเนิด


-พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า เนื่องจากพบฝ้าได้บ่อยในชาวเอเชีย มากกว่าชาวตะวันตก อย่างไรก็ตาม อาจเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมหรือแสงแดดก็เป็นได้


-ยา พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยากันชักบางประเภท จะมีผื่นดำคล้ายฝ้าขึ้นบริเวณ ใบหน้า จึงเชื่อว่ายานี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า


-เครื่องสำอาง การแพ้น้ำหอมหรือสีในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดรอยดำคล้ายฝ้าได้


การป้องกันการเกิดฝ้า


ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดฝ้า เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ สวม หมวกหรือกางร่ม และใช้ครีมกันแดดทุกครั้งที่ต้องออกแดด หากฝ้าเกิดจากการ รับประทานยาคุมกำเนิด อาจปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนไปคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น โดยปกติแล้ว หากหยุดยาคุมกำเนิด ฝ้าก็จะค่อยๆ จางหายไป เช่นเดียวกับฝ้าที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะค่อยๆ จางหายไปหลังคลอด


การรักษาฝ้า


บางคนคิดว่าการใช้ครีมทาฝ้าเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่คุณรู้ หรือไม่ว่า ในช่วงแรกฝ้าจะดูจางลง ผิวหน้าจะดูใสขึ้น แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะโดนแดด ไม่ได้ ผิวจะเห่อ ไหม้ กลายเป็นฝ้าหนากว่าเดิม เนื่องจากสารที่เคมีที่เป็นส่วนผสมทำ ปฏิกิริยาต่อผิว และอาจเป็นอันตรายได้ เราจึงมีวิธีรักษาฝ้าโดยใช้สมุนไพรใกล้ตัวมาแนะนำกัน เหมาะสำหรับคนที่เริ่มเป็นฝ้า หรือไม่อยากใช้สารเคมี


สูตรข้าวโอ๊ต+เมล็ดมะม่วงหิมะพานต์


ผสมข้าวโอ๊ตบด เมล็ดมะม่วงหิมะพานต์บด และน้ำอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้ เข้ากัน ใช้ทาผิวหน้าทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก ทำเป็นประจำฝ้าจะจาง หายไป


แครอท สลายฝ้า


สรรพคุณเก๋ๆ ของแครอทที่มากไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน จนคุณสาวๆ อาจจะ อดใจไม่ไหว ต้องไปแย่งน้องกระต่ายมากินกันเลยก็เป็นได้ เพราะว่าการกินแครอทวันละ2 -3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยทำให้ฝ้าที่ขึ้นบนใบหน้าจางลงไปได้เอง ไม่ต้องพึ่งยาเลยนะจ๊ะขอบอก


สูตรว่านหางจระเข้ลอกฝ้า


ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยลอกฝ้า ลบรอยจุดด่างดำบนใบหน้า และช่วยรักษาสิว ส่วนผสม วุ้นของว่านหางจระเข้ 300 กรัม


วิธีทำ
การนำเอาว่านหางจระเข้มาใช้นั้นคุณควรนำมาจากต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ให้ตัดใบของว่านหางจระเข้ออกมา 1 ใบ โดยเลือกเอาใบที่อยู่ด้านล่างสุดเพราะจะมีขนาดใหญ่และมีปริมาณวุ่นอยู่มาก จากนั้นนำมาล้างให้สะอาดแล้วใช้มีดเฉือนบริเวณที่โคนใบของว่านโดยกะให้ใช้พอใน 1 ครั้ง ใช้พลาสติก หรือกระดาษทิชชูแปะตรงรอยที่เฉือนออกมาจากนั้นจึงลอกผิวใบที่หุ้มวุ้นไปใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้เหลวจนเป็นเจล หรือคุณอาจใช้มือขยำเอาก็ได้เหมือนกัน นำวุ้นที่ปั่นได้มาใส่ถ้วย ต่อจากนั้นคุณก็ทำการล้างหน้าด้วยสบู่ล้างหน้ากับน้ำอุ่น หรือผลิตภัณฑ์ล้างหน้าของคุณ เช็ดหน้าให้แห้งคลุมผมให้มิดชิดแล้วน้ำที่ได้มาพอกให้ทั่วใบหน้ายกเว้นบริเวณรอบปาก และดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เมื่อครบกำหนดเวลาให้คุณล้างออกด้วยสบู่กับน้ำวุ้นควรทำเช่นนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วันต่อ 1 ครั้ง ในบางรายอาจมีอาการแพ้วุ้นของว่านหางจระเข้คุณจึงควรทำการทดสอบดูก่อน โดยนำเอาวุ้นมาทาบริเวณท้องแขนทิ้งไว้ประมาณ 1 ช.ม. ถ้าไม่มีอาการใดๆ แสดงว่าคุณใช้สูตรนี้ได้อย่างปลอดภัย



สูตรหน้าใสไร้ฝ้า


-เอาหัวผักกาดหั่นเป็นแว่นบางๆ ทาถูบริเวณที่เป็นฝ้าให้ทั่วทาทิ้งไว้ครั้งละ ประมาณ 5 นาที แล้วล้างออกให้หมดด้วยน้ำสะอาดทำเช้า และเย็น ฝ้าจะจาง และ หายไปภายใน 10 วัน


-ใช้น้ำเมือกว่านหางจระเข้ทาหน้าตอนเช้า และก่อนนอนทุกวันทาหน้าทิ้งไว้ไม่ต้องล้างออกประมาณ 5 นาที เพราะน้ำเมือกจะแห้งไปเอง ไม่ทำให้รู้สึกรำคาญ


-ฝานแตงกวาเป็นแว่นบางๆ แล้วปิดแปะลงบนใบหน้า หรือจะใช้ถูให้ทั่วใบหน้าก็ได้ทิ้งไว้พอแห้งก็ล้างออก ทำก่อนนอนนอกจากจะใช้รักษาฝ้าแล้ว ยังช่วยรักษาสิวได้ดีอีกด้วย




ความรู้เรื่องฝ้า


ฝ้า (Melasma)


ฝ้า คือ แผ่นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้มบนใบหน้า มักพบที่แก้ม หน้าผาก จมูก เหนือริมฝีปาก และคาง นอกจากนี้ อาจพบได้ที่คอ และแขนด้านนอก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในระหว่างการตั้งครรภ์ และในวัย 30 - 40 ปีขึ้นไป


ฝ้าเกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสี ซึ่งอยู่ในชั้นหนังกำพร้า มีการสร้างเม็ดสีเมลานินออกมามากผิดปกติ และส่งเม็ดสีให้เซลล์ผิวหนังด้านบน เป็นจำนวนมากกว่าปกติด้วย


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า


ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ เช่น ในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ วัยหมดประจำเดือน และการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย ทำให้มีโอกาสเป็นฝ้าได้มาก เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีฮอร์โมนผสมอยู่


แสงแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการกระตุ้นเซลล์ให้าสร้างเม็ดสีมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ฝ้าเข้มขึ้นอีกด้วย เชื่อว่าเกิดจากแสงอุลตร้าไวโอเลต A, B และ VISIBLE LIGHT จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.


พันธุกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในผู้ที่เป็นฝ้าที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน


ยา เช่น ยากันชัก เป็นต้น


การใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี โดยไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี และเร่งเซลล์ผิวหนังชั้นบน ซึ่งมีเม็ดสีเมลานินที่สร้างขึ้นมาแล้ว ให้หลุดลอกออกไป ยาฝ้าในปัจจุบันมักประกอบด้วยสารหลายชนิด ที่สำคัญคือ ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และสตีรอยด์ เป็นยาฝ้าที่มีประสิทธิภาพดี แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากการระคายเคืองได้ จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์


การป้องกันไม่ให้เกิดฝ้ามากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงแสงแดด และใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันสูงหลีกเลี่ยงการได้รับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด, เครื่องสำอาง และน้ำหอมที่มีฮอร์โมน หรือ สเตียรอยด์เป็นส่วนผสมการลอกฝ้า ใช้ในรายที่แพทย์เห็นสมควร


การรักษาฝ้าที่ถูกต้อง ต้องทายาให้สม่ำเสมอ และต่อเนื่องจนกว่าฝ้าจะจางลง โดยให้ทาในส่วนที่เป็นฝ้าก่อนนอนทุกคืน เมื่อรอยฝ้าจางหายไปแล้ว ให้ทาสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเกิดขึ้นได้อีก


นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาการรักษาฝ้าโดยการใช้สารเคมีอื่น ๆ เช่น กรดโคจิก กรดอะเซลิอิก เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลยังไม่ดีนัก บางครั้งแพทย์อาจใช้ยาทาเพื่อลอกหน้า ร่วมกับยาทาฝ้า และในบางกรณีอาจพิจารณาใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาฝ้าอีกด้วย


ฝ้าเกิดจากแสงแดด : อันเป็นปัจจัยสำคัญสุดในการเกิดฝ้า และมีส่วนทำให้ผิวเกิดความหมองคล้ำ ซึ่งเกิดจากแสงอุลตราไวโอเลต A, B และ Visibal Light ส่วนแสงแดดที่ควรหลีกเลี่ยงควรเป็นช่วงเวลา 10.00 - 17.00น.


ฮอร์โมน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์


เครื่องสำอางค์ และน้ำหอม : ล้างออกไม่หมด เกิดการอุดตัน เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง


พันธุกรรม : จากคนในครอบครัวที่เคยเป็น


ยา : จำพวกยาคุมกำเนิด, ยากันชัก เป็นต้น


การจำแนกประเภทของฝ้า


1.ฝ้า จากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด เมื่อคลอดลูกแล้วหรือหยุดใช้ยาคุมกำเนิด ฝ้าก็จะค่อย ๆ จางลงได้


2.ฝ้าจากเลือดลม ไม่สามารถหายได้



ชนิดของฝ้า


ฝ้ามีทั้งชนิดฝ้าตื้นและฝ้าลึก ฝ้าตื้น คือ ฝ้าที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้าจะมองเห็นเป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน ฝ้าลึก คือ ฝ้าที่อยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า จะมองเห็นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ฝ้าลึกจะรักษาให้หายได้ยากกว่าฝ้าตื้น


สำหรับคุณๆที่ได้รู้ว่าตนเองเป็นฝ้าประเภทไหน ชนิดใด เกิดได้อย่างไรมาแล้ว วันนี้ก็มาถึงวิธีในการรักษาและกำจัดฝ้ากันแล้ว...


1. การทายาฟอกสี เช่น ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ กรดอาเซลิก กรดโคจิก จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสร้างเม็ดสี ควรใช้ทุกวันอย่างต่อเนื่องจนสีของฝ้าค่อยๆ เรียบเสมอ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นทาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเกิดขึ้นอีก การใช้ยาชนิดนี้อาจมีข้อแทรกซ้อนได้ เช่น หน้าดำและเกิดจุดด่างขาวได้เมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะยาบางชนิดอาจมีสารปรอท เมื่อใช้ในช่วงแรก ฝ้าจะจางลง แต่ในระยะยาวอาจเกิดผลเสียต่อผิวได้ เช่น กลายเป็นรอยด่างขาว หรือเกิดสีผิวคล้ำขึ้นได้ หรือกลายเป็นฝ้าถาวรได้


2. การใช้สารเคมีลอกฝ้า เช่น เอ เอช เอ (AHA) ซึ่งเป็นเอนไซม์จากผลไม้ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ทำให้เซลล์ชั้นบนของผิวลอกออก และเร่งให้เม็ดสีเมลานินหลุดออกมาเร็วขึ้น ช่วยให้ฝ้าจางลงได้ แต่ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อแทรกซ้อน เช่น การระคายเคืองผิว


3.การทาครีมปรับสภาพผิวที่มีส่วนผสมของสารไวท์เทนนิ่ง เช่น สารสกัดจากรากชะเอม (Licorice) สารสกัดจากมะขามป้อม ขมิ้น และวิตามินซี ควรทาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า


4. การทาครีมกันแดด ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเข้มขึ้นหรือเกิดฝ้าใหม่ขึ้นอีก


5. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 17.00 น.


6. การใช้ Light Therapy เช่น VPL เพื่อช่วยในการปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ


7. การใช้แสงเลเซอร์ ทำลายเซลล์เม็ดสี จะช่วยให้ฝ้าจางลงได้ ควรใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล